เสริมสร้างสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว ด้วย ‘คาร์โนซีน’

คาร์โนซีนเป็นไดเปปไทด์ที่ประกอบด้วยเบต้าอะลานีน และฮิสทิดีน พบได้มากในกล้ามเนื้อ และสมอง โดยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (ROS) ปกป้องเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความเสื่อมของร่างกาย และความชรา

ผลงานวิจัยยังระบุด้วยว่าคาร์โนซีนอาจมีส่วนช่วยในการปกป้องระบบประสาท และปรับปรุงการทำงานของสมองในผู้สูงอายุได้

นอกจากนี้ คาร์โนซีนยังทำหน้าที่เป็นสารพีเอชบัฟเฟอร์ (pH buffer) ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของกรด-ด่าง ลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกายอีกด้วย

ที่มา: Boldyrev AA, Aldini G, Derave W. Physiology and pathophysiology of carnosine. Physiol Rev. 2013 Oct;93(4):1803-45.
Hisatsune T, Kaneko J, Kurashige H, Cao Y, Satsu H, Totsuka M, Katakura Y, Imabayashi E, Matsuda H. Effect of Anserine/Carnosine Supplementation on Verbal Episodic Memory in Elderly People. J Alzheimers Dis. 2016;50(1):149-59.

คาร์โนซีนอยู่ในอาหาร ที่มีโปรตีนสูง

เนื่องจากคาร์โนซีนมีความเข้มข้นสูงในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อลาย จึงพบได้มากในอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยมีกล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบหลัก ได้แก่

เนื้อวัว

เนื้อหมู

เนื้อแกะ

เนื้อไก่

ปลาแมคเคอเรล
/ปลาทู

การบริโภคคาร์โนซีน จึงขึ้นอยู่กับการทานเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ อาจขาดสารอาหารคาร์โนซีนได้
ที่มา: Xing, L., Chee, M.E., Zhang, H., Zhang, W., & Mine, Y. (2019). Carnosine—a natural bioactive dipeptide: bioaccessibility, bioavailability and health benefits. Journal of Food Bioactives.

อายุมากขึ้นทำให้คาร์โนซีนในร่างกายลดลง

คาร์โนซีนเป็นสารสำคัญที่พบในร่างกาย ซึ่งจะมีปริมาณลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยแล้ว ระดับคาร์โนซีนจะลดลงประมาณ 1.2% ต่อปี ในกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดี อายุ 19 - 47 ปี สาเหตุมาจากกระบวนการทางร่างกายที่เสื่อมสภาพลงตามวัย ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิต และสะสมคาร์โนซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ทั้งนี้ อนุมูลอิสระที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้สูงอายุ ยังเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ระดับคาร์โนซีนลดลง เนื่องจากคาร์โนซีนมีบทบาทสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ

นอกจากนี้ การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ลดลง และการลดลงของมวลกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับคาร์โนซีนที่ลดลงอีกด้วย

ที่มา: Everaert I, Mooyaart A, Baguet A, Zutinic A, Baelde H, Achten E, Taes Y, De Heer E, Derave W. Vegetarianism, female gender and increasing age, but not CNDP1 genotype, are associated with reduced muscle carnosine levels in humans. Amino Acids. 2011 Apr;40(4):1221-9.

เสริมสร้างการทำงานในร่างกายด้วย ‘คาร์โนซีน’

คาร์โนซีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง มีส่วนช่วยสนับสนุนการทำงานของสมอง และร่างกาย ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น นอกจากนี้ คาร์โนซีนยังมีบทบาทสำคัญในการชะลอความเสื่อมของร่างกาย อันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น ผ่านกระบวนการทางชีวเคมีหลายอย่าง เช่น การควบคุมระดับความเป็นกรด-ด่าง การต้านการอักเสบ และการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมัน ซึ่งช่วยรักษาสุขภาพของเซลล์ในร่างกายได้เป็นอย่างดี

การศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า การเสริมคาร์โนซีนให้ร่างกาย จะช่วยชะลอความจำเสื่อมของสมอง ช่วยรักษาการไหลเวียนของเลือดในสมอง และลดระดับของสารที่กระตุ้นการอักเสบในเลือด ดังนั้น คาร์โนซีนจึงมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสมอง และร่างกายจากความเสื่อมที่เกิดจากอายุได้

สุขภาพสมองและ การทำงานของสมอง

สุขภาพสมองและ การทำงานของสมอง

สุขภาพกล้ามเนื้อและสมรรถภาพทางกาย

สุขภาพกล้ามเนื้อและสมรรถภาพทางกาย

สุขภาพหัวใจ

สุขภาพหัวใจ

การชะลอวัย

การชะลอวัย

Source: Hisatsune T, Kaneko J, Kurashige H, Cao Y, Satsu H, Totsuka M, Katakura Y, Imabayashi E, Matsuda H. Effect of Anserine/Carnosine Supplementation on Verbal Episodic Memory in Elderly People. J Alzheimers Dis. 2016;50(1):149-59. 
Ding Q, Tanigawa K, Kaneko J, Totsuka M, Katakura Y, Imabayashi E, Matsuda H, Hisatsune T. Anserine/Carnosine Supplementation Preserves Blood Flow in the Prefrontal Brain of Elderly People Carrying APOE e4.

คาร์โนซีนจาก BRAND’S LAB

เพราะอะไร ‘คาร์โนซีน’
จึงเป็นสารอาหารสำคัญ?

คาร์โนซีน คือหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ BRAND’S LAB มุ่งเน้นเป็นพิเศษ ไม่เพียงเพราะประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลกระทบต่อการรักษาสุขภาพที่ดี และความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงอายุของชีวิต

คาร์โนซีนคือสารประกอบธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กและดูดซึมได้ง่าย โดยผลการวิจัยยังสนับสนุนว่าคาร์โนซีนมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก และไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ

มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มากมาย

คาร์โนซีนช่วยเสริมสร้างทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต จึงเป็นสารอาหารที่สำคัญ ต่อสุขภาพโดยรวม

เสริมสร้างสมองและ
การทำงานของสมอง

คาร์โนซีนช่วยเสริมการทำงานของจิตใจ และช่วยป้องกันความจำเสื่อม ซึ่งเป็น สิ่งสำคัญสำหรับทุกวัย ในการใช้ชีวิต บนสภาพแวดล้อมที่เร่งรีบในปัจจุบัน

เพิ่มสมรรถภาพทางกาย

คาร์โนซีนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย ลดความเหนื่อยล้า และชะลออาการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายหนัก ทำให้เป็นที่นิยมในกลุ่มนักกีฬา และผู้รักการออกกำลังกาย

ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ คนยุคใหม่

คาร์โนซีนตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ที่ต้องรับมือกับความเครียด และความเหนื่อยล้าในชีวิตประจำวัน รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของร่างกายโดยรวมเช่นกัน

คาร์โนซีนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพร่างกายได้ โดยระดับคาร์โนซีนในกล้ามเนื้อจะเพิ่มสูงขึ้นในขณะออกกำลังกาย ช่วยให้การออกกำลังกาย มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

คาร์โนซีนช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย และลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การออกกำลังกาย แบบเป็นช่วง ๆ สลับหนัก-เบา

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวัง

  • ระวัง ‘คาร์โนซีน’ กับ ‘คาร์นิทีน’ สารทั้งสองอย่าง มีชื่อที่คล้ายกันแต่มีความแตกต่างกัน และอาจทำให้เกิดความสับสนได้
  • โดยทั่วไป การรับประทานคาร์โนซีน จะปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง

สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานยา อาหารเสริม สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

  • คาร์โนซีนอาจช่วยลดความดันโลหิต
และระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น อาจมีปฎิกิริยาต่อยาควบคุมความดันโลหิต
หรือยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทาน
อาหารเสริม ชนิดใหม่ๆ

เรียนรู้สารอาหารอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับ! เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นจาก BRAND’S LAB

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ

คาร์โนซีน (Carnosine): การเสริมสร้างสุขภาพสมอง

คาร์โนซีนมีคุณสมบัติเสริมสร้างสุขภาพสมองและความจำ มีผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมสร้างสุขภาพสมอง ..

บทบาทสำคัญของการนอนต่อการทำงานของสมองและสุขภาพสมอง

การเข้าใจถึงผลกระทบอย่างี่ลึกซึ้งของการนอนหลับต่อฟังก์ชันสติปัญญาและโครงสร้างการทำงานของสมอง แสดงให้เห็นว่า การนอนหลับ มีผลต่อการเสริมสร้างประสิทธิผลท..

ผลกระทบของความเครียดต่อสุขภาพสมองของผู้หญิงสูงอายุ

ผลกระทบทางสมองจากความเครียด โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยกลางคน ก่อให้เกิดความกังวล ดังนั้น แนวทางการจัดการต่อระดับความเครียดและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล จึงเป็นสิ..

สินค้าของเรา
สมัครสมาชิก