‘แอสตาแซนธิน’ สารอาหารจากธรรมชาติ เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน

แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในแคโรทีนที่พบได้ตามธรรมชาติในสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น ปลาแซลมอน กุ้ง และล็อบสเตอร์ โดยเฉพาะในสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิอาลิส (Haematococcus pluvialis) สาหร่ายชนิดนี้สามารถสะสมแอสตาแซนธินในปริมาณสูงเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีความเครียด เช่น ความเค็มสูง ขาดไนโตรเจน อุณหภูมิสูง หรือแสงแดดจัด

ซึ่งแอสตาแซนธินทำหน้าที่ปกป้องนิวเคลียสของเซลล์จากอนุมูลอิสระที่เกิดจากรังสี UV สาหร่ายชนิดนี้จึงอุดมไปด้วยแอสตาแซนธินที่เป็นประโยชน์ต่อคน

ที่มา: Ambati RR, Moi PS, Ravi S et al. Astaxanthin: Sources, Extraction, Stability, Biological Activities and Its Commercial Applications—A Review. Mar Drugs. 2014; 12(1):128-52. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3917265/
Umbraco.Cms.Core.Models.MediaWithCrops`1[Umbraco.Cms.Web.Common.PublishedModels.Image]

แอสตาแซนธิน พบได้ตามธรรมชาติ

แอสตาแซนธินที่ใช้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มาจากยีสต์ชนิดฟาฟเฟีย (Phaffia yeast) สาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิอาลิส (Haematococcus pluvialis) และกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิอาลิส นับเป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยแอสตาแซนธินธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง รวมถึงปลาแซลมอนที่จับได้ตามธรรมชาติด้วยเช่นกัน โดยเฉลี่ยปลาแซลมอนที่มีน้ำหนัก 165 กรัม พบว่ามีปริมาณแอสตาแซนธินถึง 3.6 มิลลิกรัม เลยทีเดียว

สาหร่าย

ปู

ปลาแซลมอน

ปลาเทร้าท์

กุ้งเคย

กุ้ง

ที่มา: Ambati RR, Moi PS, Ravi S et al. Astaxanthin: Sources, Extraction, Stability, Biological Activities and Its Commercial Applications—A Review. Mar Drugs. 2014; 12(1):128-52. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3917265/

‘อนุมูลอิสระ’ ต้นเหตุของร่างกายที่เสื่อมถอย

ร่างกายของเราจะสะสมอนุมูลอิสระ(ROS)มากขึ้นตามกาลเวลา แต่ในขณะเดียวกัน ระบบป้องกันในร่างกายที่ทำหน้าที่ต้านสารอนุมูลอิสระ กลับมีประสิทธิภาพลดลง ส่งผลให้ร่างกายมีสารอนุมูลอิสระสูงมากจนเกินสมดุล จึงทำให้เซลล์ในระดับต่าง ๆ เช่น ดีเอ็นเอ เยื่อหุ้มเซลล์ และโปรตีน ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่สภาวะชราภาพ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง

ที่มา: Johnson EJ, Maras JE, Rasmussen HM & Tucker KL. Intake of lutein and zeaxanthin differ with age, sex, and ethnicity. J Am Diet Assoc. 2010;110(9):1357-62. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20800129/ 

จากกราฟที่แสดงปริมาณของสารมาลอนไดดีไฮด์(MDA) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการที่ไขมันในร่างกายถูกทำลายโดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน พบว่าปริมาณของสารนี้เพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น

หมายเหตุ: กราฟที่นำเสนอนี้เป็นภาพแสดงแนวโน้มทั่วไปเท่านั้น อาจไม่สะท้อนข้อมูลเชิงปริมาณที่แท้จริง และผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สำหรับข้อมูลที่แม่นยำ โปรดดูจากการศึกษาต้นฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE: Effect ofage on tissue lipid peroxidation in (A) males (B) females

ที่มา:

แอสตาแซนธิน สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง

สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร
สารต้านอนุมูลอิสระเปรียบเสมือนเกาะป้องกัน ที่ปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการถูกทำลาย โดยเฉพาะอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียร และก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ อนุมูลอิสระเหล่านี้เรียกว่าสารออกซิไดซ์ (Reactive Oxygen Species: ROS) มักเกิดขึ้นได้จากกระบวนการทำงานปกติของร่างกาย หรือจากปัจจัยภายนอก เช่น มลภาวะ ควันบุหรี่ และแ

 
แอสตาแซนธินช่วยปกป้องร่างกายอย่างไร
แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง โดยสามารถยับยั้งการทำงานของอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่า เมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับเซลล์ จะทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ เช่น โปรตีน ไขมัน และดีเอ็นเอ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ ได้ แอสตาแซนธินจึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันความเสียหาย ดังกล่าว และช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของร่างกาย

สารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ

ลดการอักเสบ

ลดการอักเสบ

บำรุงสายตา

บำรุงสายตา

บำรุงผิวพรรณ

บำรุงผิวพรรณ

บำรุงสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด

บำรุงสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือด

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

ที่มา: Davinelli S, Nielsen ME & Scapagnini G. Astaxanthin in Skin Health, Repair, and Disease: A Comprehensive Review. Nutrients. 2018; 10: 522.

Nishida Y, Yamashita E & Miki W. Quenching Activities of Common Hydrophilic and Lipophilic Antioxidants against Singlet Oxygen Using Chemiluminescence Detection System. Carotenoid Science. 2007; 111: 16-20.

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวัง

  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้บริโภคแอสตาแซนธินที่สกัดได้จากสาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิอาลิส โดยตรงในปริมาณสูงสุด 12 มิลลิกรัม/วัน และสามารถเพิ่มปริมาณได้สูงสุดถึง 24 มิลลิกรัม/วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน
  • จากการศึกษาพบว่าการรับประทานแอสตาแซนธินในปริมาณ 6 มิลลิกรัม/วัน ในผู้ใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงใด ๆ
  • จากการศึกษาพบว่าการบริโภคแอสตาแซนธินในปริมาณสูงสุดถึง 40 มิลลิกรัม/ครั้ง ในผู้เข้าร่วมการศึกษาที่มีสุขภาพดีจำนวน 32 ราย ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรง โดยมีรายงานอาการไม่พึงประสงค์เพียงเล็กน้อย 3 ราย ภายในระยะเวลา 48 ชั่วโมงหลังการบริโภค
  • เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี จึงขอแนะนำให้การบริโภคแอสตาแซนธินจำกัดเฉพาะบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

 

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

การเลือกอาหารเสริม ควรได้รับคำปรึกษาจาก ผู้เชี่ยวชาญpนสุขภาพ

ที่มา: Roche, F. Astaxanthin: Human food safety summary. In Astaxanthin As a Pigmenter in Salmon Feed, Color Additive Petition 7C02 1 1, United States Food and Drug Administration; Hoffman-La Roche Ltd.: Basel, Switzerland, 1987; p. 43.

เรียนรู้สารอาหารอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เคล็ดลับ! เพื่อสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นจาก BRAND’S LAB

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ

บทบาทสำคัญของการนอนต่อการทำงานของสมองและสุขภาพสมอง

การเข้าใจถึงผลกระทบอย่างี่ลึกซึ้งของการนอนหลับต่อฟังก์ชันสติปัญญาและโครงสร้างการทำงานของสมอง แสดงให้เห็นว่า การนอนหลับ มีผลต่อการเสริมสร้างประสิทธิผลท..

ปลดล็อกพลังของวิตามินบี: เสริมสร้างสุขภาพสมอง

การรักษาระดับวิตามินบีในร่างกายของคุณ เป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาพสมองที่สมบูรณ์สมวัย ไม่ว่าจะผ่านทางสมดุลทางอาหาร อาหารเสริมหรือวิตามินเสริมพิ่..

ผลกระทบของความเครียดต่อสุขภาพสมองของผู้หญิงสูงอายุ

ผลกระทบทางสมองจากความเครียด โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยกลางคน ก่อให้เกิดความกังวล ดังนั้น แนวทางการจัดการต่อระดับความเครียดและระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล จึงเป็นสิ..

สินค้าของเรา
สมัครสมาชิก