01

ฝึกจำคำศัพท์และเบอร์โทรแทนใช้สมาร์ทโฟน

ท่องคำศัพท์วันละ 10 คำ หรือ จำเบอร์โทรศัพท์แทนการบันทึกไว้ในสมาร์ทโฟน

02

กระตุ้นสมองด้วยกิจกรรมใหม่ๆ

ทำสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ ทำงานศิลปะ ดนตรี เต้นรำ เรียนทำอาหาร ตลอดจนทำงานอดิเรกแปลก ๆ ใหม่ ๆ เพราะการทำสิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์

03

เล่นเกมพัฒนาสมอง

เล่นเกม เช่น หมากฮอส หมากรุก ซูโดกุ ปริศนาอักษรไขว้ เกมส์ต่อคำศัพท์

04

อ่านหนังสือพิมพ์

อ่านหนังสือพิมพ์ ติดตามข่าวสาร หรือดูรายการโทรทัศน์ที่ให้ความรู้

05

บริหารสมองด้วย Brain Gym

บริหารสมองด้วยกิจกรรม Brain Gym ซึ่งเป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายง่ายๆ ที่ช่วยให้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ช่วยให้สมองตื่นตัว ช่วยเรื่องการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว และยังช่วยผ่อนคลายเครียด รวมทั้งทำให้มีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้ ซึ่งกิจกรรม Brain Gym พัฒนาขึ้นโดย ดร. พอล เดนนิสัน นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Over Movement) ช่วยให้สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น วิ่งเหยาะๆ อยู่กับที่ช้าๆ นั่งชันเข่า มือสองข้างประสานกันที่ท้ายทอย เอียงข้อศอกซ้ายแตะที่หัวเข่าขวา ยกข้อศอกซ้ายกลับไปที่เดิม เปลี่ยนเป็นเอียงข้อศอกขวาแตะที่หัวเข่าซ้าย ก้าวเท้าขวาวางหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับยื่นแขนทั้งสองข้างออกไปด้านหน้า มือคว่ำลงขนานกับพื้น แกว่งแขนทั้งสองไปด้านข้างลำตัว ตรงข้ามกับขาที่ก้าวออกไป แกว่งแขนทั้งสองข้างกลับมาอยู่ด้านหน้า พร้อมกับชักเท้าขวาวางที่เดิม แล้วเอามือลง สลับเท้าทำซ้ำอีกครั้ง กำมือสองข้าง ยื่นแขนตรงไปข้างหน้า ให้แขนคู่กัน เคลื่อนแขนทั้งสองข้างพร้อมๆกัน หมุนเป็นวงกลมสองวงต่อกันคล้ายเลข 8 ในแนวนอนทำกิจกรรมที่ใช้มือทั้งสองข้าง เป็นการฝึกสมองให้ทำงานประสานกัน กลุ่มที่ 2 การยืดส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Lengthening Movement) ช่วยผ่อนคลายความเครียดของสมองส่วนหน้า และส่วนหลัง ทำให้มีสมาธิในการเรียนรู้ และการทำงานมากขึ้น เช่น ท่าโยคะต่างๆ กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energizing Movement) เป็นท่าที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น เช่น ใช้นิ้วชี้นวดขมับเบาๆ ทั้งสองข้างวนเป็นวงกลม กดจุดตำแหน่งต่างๆ ในร่างกายที่จะกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางที่ใต้คาง อีกมืออยู่ที่ตำแหน่งสะดือ หายใจเข้า-ออก ช้าๆ ลึกๆ สายตามองจากไกลเข้ามาใกล้ เปลี่ยนมือทำเช่นเดียวกัน นวดใบหูด้านนอกเบาๆ ทั้งสองข้าง แล้วใช้มือปิดหูเบาๆ ทำช้าๆ หลายๆครั้ง ใช้มือทั้งสองเคาะที่ตำแหน่งกระดูกหน้าอก โดยสลับมือกันเคาะ แต่ต้องเคาะเบาๆ กลุ่มที่ 4 ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ของสมอง เช่น การจดจำ การมองเห็น การได้ยิน และช่วยลดความเครียดได้ เช่น วางมือซ้อนกันที่ด้านหน้า หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ คว่ำมือลง หายใจออกช้าๆ แล้ววาดมือออกเป็นวงกลม แล้ววางมือไว้ที่เดิม ใช้มือทั้งสองปิดตาที่ลืมอยู่เบาๆ ให้สนิท จนมองเห็นเป็นสีดำมืดสนิทสักพัก แล้วค่อยๆ เอามือออก เริ่มปิดตาใหม่ ใช้นิ้วมือทั้งสองข้างเคาะเบาๆ ทั่วศีรษะ จากกลางศีรษะออกมา ด้านขวาและซ้ายพร้อมๆ กัน การบริหารสมอง ควรทำแต่ละท่าซ้ำประมาณ 4-6 ครั้ง ขณะทำให้หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ไม่ควรกลั้นลมหายใจ และควรดื่มน้ำวันละ 8-12 แก้ว ช่วยให้สมองทำงานได้ดี เพราะสมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 85% การขาดน้ำจะทำให้สมองทำงานไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้สมองสามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้นเรียบเรียงโดย ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ เอกสารอ้างอิง